⇨เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่
21⇦
บ้านเมืองของเราในขณะนี้เรียกว่าเป็นยุคศตวรรษที่
21
ได้เปลี่ยนเป็นเห็นคุณค่าของการนำใช้เทคโนโลยีที่เข้ามา เริ่มมาปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันมีทั้งนี้เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆและหลายด้านอย่างต่อเนื่อง
เช่นให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทในการศึกษาของเราในปัจจุบัน
ปัจจุบันจึงคิดหาวิธีการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนของเรา มีความรู้และทักษะมากขึ้นได้อย่างไรจึง
เล็งเห็นว่า เราต้อง
ฝึกครูไทยในอนาคตให้มีความรู้อย่างแท้จริงก่อนเพื่อจะนำไปถึงในเรื่องของการสอน
นอกจากนี้ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ยังต้องมีการผสมผสานเทคโนโลยีให้เข้ากับเนื้อหาและวิธีการสอน
โดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนทฤษฎีการเรียนรู้แบบใหม่ในการพัฒนาเนื้อหาและทักษะแบบใหม่อีกด้วย
เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรมีคุณลักษณะที่มีชีวิต
มีปฏิสัมพันธ์ การเชื่อมต่อและมีส่วนร่วม
ใช้สื่อผสมอย่างหลากหลาย ปรับเปลี่ยนตามความสามารถและระดับของเด็กไทย
มีเนื้อหาที่ไม่ยึดติดกับตัวสื่อ เลือกประกอบเนื้อหาได้เอง ค้นหา-แก้ไข-จดบันทึกได้
เก็บประวัติการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และมีระบบการประเมินผลการเรียนรู้ที่รวดเร็วและต่อเนื่องรวมไปถึงการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนไทยเพื่อให้บรรลุผลที่สำคัญและจำเป็นต่อตัวเด็กนักเรียนไทยอย่างแท้จริงมุ่งไปที่ให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ต้องก้าวข้ามสาระวิชาไปสู่การเรียนรู้เพื่อการดำรงชีวิตในทศวรรษที่ 21
ครูต้องไม่สอนหนังสือไม่นำสาระที่มีในตำรา
มาบอกบรรยายให้นักเรียนจดจำและนำไปสอบวัดความรู้ครูต้องสอนคนให้เป็นมนุษย์
ที่การเรียน รู้การใช้ทักษะ เพื่อการดำรงชีวิตในทศวรรษที่ 21 เป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้การอำนวยความสะดวก
ในการเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนรู้แบบลงมือทำ
โดยมีประเด็นคำถามอยากรู้ เป็นตัวกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจให้อยากเรียน
ที่จะนำไปสู่ความกระตือรือร้นที่จะสืบค้น
รวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆมาสนับสนุนหรือโต้แย้ง ข้อสมมติฐานคำตอบที่คุ้นเคย
พบเจอจากประสบการณ์เดิมใกล้ตัว สร้างเป็นกระบวนการใหม่แทนของ เดิมดิฉันคิดว่ามันจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีปัญหาเหล่านี้ต่อครูไทย
ปัจจัยเหล่านี้นี่เองที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ การทำหน้าที่ของครู
ส่งผลให้กับการปฏิบัติหน้าที่ยังไม่เต็มที่ 1 .ภาระนอกเหนือจากการสอน
2 .จำนวนครูไม่เพียงพอ 3 .สอนไม่ตรงกับวุฒิ ทักษะด้านไอที 4 .คูณรุ่นใหม่ขาดจิตวิญญาณขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว
5 .ครูสอนหนักส่งผลให้เด็ก เรียนมากขึ้น
อิสระในการจัดการเรียนการสอน สำหรับปัจจัยส่งเสริมการทำหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นพบว่า
หนึ่งคือการอบรมแลกเปลี่ยนและการสร้างเครือข่ายความรู้ การพัฒนาตนเองในเรื่องของไอที
การเพิ่มธุรการการสอบประเมิน การลดชั่วโมงการเรียนการสอนของครูและการเรียนของเด็ก
สรุปได้เลยว่าสำหรับบทบาทของครูใน ศตวรรษที่ 21
ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ว่า
ครูไทยในยุคศตวรรษที่ 21 จะต้องกลับมาดูการศึกษา
เพื่อนำไปสู่การสร้างเด็กใหม่ๆที่มีคุณภาพแล้วหรือยัง? เพราะขณะที่โลกตอนนี้มีการพัฒนาด้วยไอเดียความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ
แต่เรายังคงเลือกที่จะเป็นผู้รับมากกว่าที่จะเป็นนักสร้างสรรค์เสียเอง
ทำให้ประเทศไทยเราตกอยู่ในฐานะเป็นเพียงผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ฉะนั้นมันถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนรู้ของเด็กไทยเสียใหม่ให้รู้จักการสร้างสรรค์
ร่วมกันวางแผน รู้จักแยกแยะ รู้จักประยุกต์ วิจัยค้นคว้า สร้างผลงาน
วางแผนและประมวลผลเป็น ซึ่งตัวแปรที่สำคัญในเรื่องนี้ก็คือครู ครูสามารถสร้างและบรูณาการความรู้ได้ ครูจะต้องสามารถบรูณาการความรู้ต่างๆที่มี
มาใช้ในการสร้างสรรค์และพัฒนาอยู่เรื่อยๆและมีความคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์
ครูจะต้องสอนให้เด็กมีทักษะกระบวนการคิด โดยสามารถคิดวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆ
และมีความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์และที่สำคัญเลยก็คือครูต้องรู้และเข้าใจเทคโนโลยีใหม่
มีทักษะใหม่ๆ พร้อมทั้งชี้แนะข้อดีข้อเสียให้ผู้เรียนได้
ครูจะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการศึกษาได้หลากหลาย
และสามารถชี้ให้เด็กเห็นถึงข้อดีข้อเสีย และการใช้เทคโนโลยีต่างๆอย่างเหมาะสม